ภาษีรถยนต์นำเข้าคืออะไร ทำไมประเทศไทยถึงเสียภาษีรถยนต์นำเข้าแพง?

white car

ถึงแม้ว่าในบ้านเราจะมีรถยนต์ให้เลือกหลายแบรนด์ หลายรุ่น แต่บางทีก็ยังไม่ถูกใจหลายๆ คน ทำให้เกิดการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ข้อดีคือได้รถแบรนด์ที่ชอบ รุ่นที่ถูกใจ แต่ข้อเสียคือมีราคานำเข้าที่สูงมากๆ สูงจนน่าตกใจ แล้วเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่? ทำไมเวลาจะนำเข้ารถยนต์แต่ละครั้งถึงต้องเสียภาษีนำเข้าแสนแพง วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

ภาษีรถยนต์นำเข้าคืออะไร?

ภาษีรถยนต์นำเข้า คือ ภาษีที่จะต้องจ่ายให้กับกรมศุลกากรเมื่อทำการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย เพราะประเทศไทยมีภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงมาก

ทำไมประเทศไทยถึงเสียภาษีนำเข้ารถแพง?

สาเหตุที่เวลาจะซื้อรถยนต์นำเข้า แล้วเสียภาษีแพง เนื่องจากประเทศไทยจะต้องเสียภาษีรถนำเข้าทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

1.อากรขาเข้า

เป็นการจัดเก็บภาษีนำเข้า เพื่อนำมาใช้ในราชอาณาจักร ถือเป็นค่าภาษีแรกที่ผู้นำเข้าจะต้องจ่าย ณ ท่าเรือ ก่อนที่จะนำรถยนต์ออกจากท่าเรือ อากรขาเข้าจะมีหลักการประเมินอยู่ 3 แบบคือ

  1. ตามสภาพสินค้า
  2. ราคาสินค้า

3 .พิกัดของอัตราศุลกากร

ซึ่งส่วนใหญ่อากรขาเข้าของรถยนต์นำเข้าจะอยู่ที่ 80% ของราคา CIF ซึ่งภาษีในส่วนนี้อาจมีการยกเว้นหรือลดหย่อนได้หากรถยนต์ที่นำเข้ามาจากประเทศที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทยเอาไว้

2.ภาษีสรรพสามิต

รถยนต์จะถูกจัดว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์นำเข้าหรือรถยนต์ที่ผลิตในประเทศทุกคัน ภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีส่วนที่ต้องจ่ายให้กรมศุลกากรพร้อมกับอากรขาเข้า โดยภาษีสรรพสามิตจะอยู่ระหว่าง 30-50% ของราคา CIF ความแตกต่างของภาษีสรรพสามิตจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 CC

  • อัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 100-150 กรัม/กิโลเมตร >> อัตราภาษีสรรพสามิตที่ 30%
  • อัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 200 กรัม/กิโลเมตรขึ้นไป >> อัตราภาษีสรรพสามิตที่ 40%

รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์เกิน 3,000 CC ไม่ว่าจะมีอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไหร่ อัตราภาษีสรรพสามิตจะอยู่ที่ 50%

โดย ภาษีสรรพสามิตสามารถคำนวณได้จากสูตรที่เรียกว่า “ฝังใน” คือ

ภาษีสรรพสามิต = (CIF + อากรนำเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต / 1 – (1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)

3.ภาษีเพื่อมหาดไทย

ภาษีเพื่อมหาดไทย คือภาษีที่จะถูกนำไปใช้บริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กับกระทรวงมหาดไทย

ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย (10%)

4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าการซื้อขายและสินค้านำเข้า โดยจะคิดเป็น 7% ของสินค้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคา CIF + อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%)

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถนำเข้า

ในการคำนวณภาษีรถนำเข้าจะคำนวณจาก ค่า CIF

สมมติว่า รถยนต์ที่ต้องการนำเข้า มีขนาดเครื่องยนต์เกิน 3,000 ซีซี ราคาจากประเทศผู้ผลิตอยู่ที่ 600,000 บาท ราคารวม CIF อยู่ที่ 670,000 บาท

จะสามารถคำนวณภาษีรถยนต์นำเข้าได้ดังนี้

  • ภาษีอากรขาเข้า (80%)             >>   670,000 x 80%  = 536,000 บาท
  • ภาษีสรรพสามิต             >>  (670,000 + 536,000) x 50% /1-(1.1×50%) = 1,340,000 บาท
  • ภาษีมหาดไทย (10%) >>  1,340,000 x 10% = 134,000 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%                 >>  (670,000 + 536,000 + 1,340,000 + 134,000) x 7% = 2,867,000 บาท

รวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จแล้วรถยนต์นำเข้าคันนี้จะมีราคาอยู่ที่  2,867,000 บาท  บาท

** ค่า CIF คือ Cost + Insurance + Freight ของรถยนต์ เป็นราคาขายที่รวมกับค่าประกันภัยและค่าขนส่งมายังประเทศไทย ซึ่งจะถูกระบุเอาไว้ในเอกสารนำเข้า

พอเห็นภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้ารถยนต์แล้วทำเอาหนาวกันเลยทีเดียว แต่ข้อดีของการนำเข้ารถยนต์ก็คือจะได้รถที่ถูกใจ โดยเฉพาะรถยนต์ที่เป็น Super Car นอกจากวิธีการคำนวณภาษีรถยนต์นำเข้าแบบคร่าวๆ แล้ว วันนี้เรายังมีอีกหนึ่งสิ่งดีๆ สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์มาฝาก นั่นก็คือ Rabbit Care ตัวกลางในการทำประกันรถยนต์ ที่จะทำให้คุณรู้สึกถึงความคุ้มค่า ให้ราคาที่ถูกกว่า มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือผ่านระบบ LINE OA เคลมง่าย ซ่อมไว สนใจทำประกันรถยนต์สามารถเข้าไปได้ที่ www.rabbitcare.com